วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาพลิก

ภาพพลิก
ภาพพลิก เป็นทัศนวัสดุ ที่เป็นชุด ของภาพถ่าย ภาพวาด แผนภูมิ หรือกราฟ ซึ่งนำมารวมเข้าเป็นเรื่องราว ให้มีความต่อเนื่อง สัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ จำนวนประมาณ 10 -15 แผ่น เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนอ สื่อที่เป็นเรื่องเป็นราว ใช้กับกลุ่มผู้เรียน ที่มีขนาดไม่เกิน 20 -30 คน ถ้าใช้นอก สภานที่ ควรมี ขาหยั่งสำหรับแขวนโดยเฉพาะ




แผนสถิติ


กราฟเส้น ( Line Graphs) สามารถแสดงข้อมูล ข้อเท็จจริงได้ถูกต้องกว่าแบบอื่นๆเหมาะสำหรับใช้แสดงข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กัน 2 มาตรา โดยเฉพาะระหว่างมาตราจำนวน หรือปริมาณกับเวลาที่เดียวกับปริมาณนั้นๆ โดยที่แกนนอนแสดงเวลา แกนตั้งแสดงจำนวน เมื่อลากเส้นระหว่างจุดเหล่านั้นแล้ว ทำให้รู้ถึงแนวโน้มของข้อมูลใหม่


กราฟแท่ง (Bar Graphs ) เป็นกราฟที่ทำง่ายและ อ่านเข้าใจง่ายกว่าแบบอื่น เหมาะสำหรับเปรียบเทียบ ข้อมูลหลายชนิด มีลักษณะความยาวของแท่งปริมาณข้อมูล ถ้าข้อมูลน้อย แท่งจะสั้น ถ้าข้อมูลมากแท่งจะยาว ความกว้างมีขนาดเท่ากัน แกนตั้งและแกนนอน จะเปรียบเทียบข้อมูล 2 ประเภทที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน



กราฟวงกลม (Circle or Pie Graphs) เป็นกราฟที่แสดงให้เห็นปริมาณหรือจำนวนข้อมูลส่วนรวมทั้งหมด กับส่วนย่อย โดยแบ่งมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมออกเป็นองศาตามสัดส่วนของจำนวนข้อมูลที่แสดง เช่น การแสดงรายจ่ายของนักศึกษาประจำเดือน เป็นต้น

แผนภาพ

แผนภาพ Diagram
เป็นสื่อที่รับรู้จากการมองเห็น โดยพยายามแสดงสาระที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ การทำงานของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
แผนภาพลายเส้นแสดงระบบประปาเข้าอาคาร
1. แผนภาพลายเส้น เนื่องจากการมองภาพของจริงบางชนิดยากแก่การทำความเข้าใจ จึงมีการเขียนเป็นลายเส้นโดยลดความซับซ้อนในรายละเอียดลงไปบ้างก็ได้ หรือให้เหมือนมองทะลุผ่านเข้าไปภายในก็ได้ แล้วมีเส้นตรง เส้นโค้ง เป็นตัวเชื่อมโยงให้เห็นความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น แผนภาพลายเส้นแสดงการปิด-เปิดวงจรไฟฟ้า ระบบสูบน้ำขึ้นอาคาร
แผนภาพแบบรูปภาพการรับสัญญาณโทรทัศน์จากสายอากาศ 2 ชุด
2. แผนภาพแบบรูปภาพ เป็นแผนภาพที่ใช้ภาพจริง เช่น ภาพถ่าย หรือภาพเหมือนจริงที่เขียนขึ้นใหม่มาจัดเป็นองค์ประกอบแล้วแสดงความสัมพันธ์กันด้วยเส้นที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบ เช่น แผนภาพการทำงานของชุดเครื่องเสียง การรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์
แผนภาพแบบผสม และส่วนต่างๆ ของรถยนต์
3. แผนภาพแบบผสม เป็นการรวมกันระหว่างแบบลายเส้นและแบบรูปภาพ โดยเน้นที่ความเหมือนจริง แล้วเพิ่มลายเส้นลงไปในภาพ เพื่อแสดงความสัมพันธ์หรือการทำงานของสิ่งนั้นๆ เช่น ภาพแสดงการไหลเวียนอากาศในรถยนต์

แผนภูมิ

แผนภูมิ (Chart) เป็นทัศนวัสดุที่ประกอบด้วยรูปภาพ ลายเส้น สัญลักษณ์ ตัวเลข และข้อความ เพื่อแสดงความเกี่ยวข้องของนามธรรม เช่น จำนวน ระยะเวลา ลำดับขั้น ความต่อเนื่อง โดยแสดงความสัมพันธ์เหล่านั้นให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ประโยชน์ของแผนภูมิ

1.ช่วยประกอบการอธิบายของครูให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

2.ใช้สรุปหรือทบทวนบทเรียน

3.ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มขึ้น

4.ช่วยสร้างปัญหาและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด




แผนภูมิคอลัมน์ (Column)


แผนภูมิแท่งแนวนอน (Bar)


แผนภูมิเส้น (Line)


แผนภูมิวงกลม (Pie)


แผนภูมิกระจาย (XY scatter)


แผนภูมิพื้นที่ (Area)


แผนภูมิโดนัท (Doughnut)


แผนภูมิเรดาร์ (Radar)


แผนภูมิพื้นผิว (Surface)


แผนภูมิฟอง (Bubble)


แผนภูมิหุ้น (Stock)


แผนภูมิทรงกระบอก (Cylinder)


แผนภูมิทรงกรวย (Cone)



แผนภูมิพีระมิด (Pyramid)



วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

สื่อวัสดุ

สื่อการสอนประเภทวัสดุเป็นสื่อที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุคำว่า “วัสดุ” ตรงกับคำว่าภาษาอังกฤษว่า materal ซึ่งจอห์น ซินแคลร์ ให้ความหมายว่าวัสดุหมายถึง สิ่งที่มีคุณสมบัติ แข็งแรง ควบแน่น เป็นสารหรือสสารอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาสื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งที่ช่วยสอนที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง เช่น ฟิล์ม ภาพถ่ายภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของราคาสิ่งของหรือสสารที่ถูกนำมาใช้งานจะมีคุณสมบัติต่างๆ กันบางอย่างก็แข็งแรง บางอย่างก็ยืดหยุ่นดีบางอย่างแข็งเปราะ บางอย่างมีความทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า “สื่อการสสอนประเภทวัสดุ” หรือ “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็น สื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อวัสดุสื่อประเภทของวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะเป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างแบบแบนบางไม่มีความหนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ รูปภาพ ตัวหนังสือสื่อวัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนเช่น หุ่นจำลองสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์สื่อวัสดุกราฟิก
1. ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญคืองานกราฟิกได้แก่ ภาพเขียนทั้งทีเป็นภาพสี ภพขาวดำ ตัวหนังสือ เสนและสัญลักษณ์
2. คุณค่าของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกเป็นสื่อวัสดุ 2 มิติ ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ทางตาซึ่งถือว่าเป็นอวัยวะที่ปริมาณการรับรู้มากที่สุดเมื่อเทียบกับกี่รับรู้ด้วยประสาทรับสัมผัสด้านอื่นๆ สื่อวัสดุกราฟิกที่เห็นได้โดยทั่วไปมากมายรูปแบบ เช่น โปสเตอร์ หนังสือ วารสาร
3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิกคือ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาการเรียนรู้
4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดีคือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีรูปแบบง่ายต่อการเรียนรู้และการทำความเข้าใจไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนสื่อความหมายได้รวดเร็วชัดเจน
5. การออกแบบวัสดุกราฟิกคือ เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการออกแบบ
6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกสื่อวัสดุกราฟิกมีข้อดีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ดังนี้ คือ แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อความเข้าใจให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สามารถผลิตได้ง่ายไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษส่วนข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกได้แก่ ใช้ได้กับเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น การออกแบบและการผลิตไม่ดีอาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก
7. ประเภทของวัสดุกราฟิก
7.1 ประเภทของวัสดุกราฟิก
7.1.1 แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร
7.1.1.1 แผนภูมิต้นไม้
7.1.2 แผนภูมิแบบสายธาร
7.13 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
7.1.4 แผนภูมิแบบองค์การ
7.1.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
7..1.6 แผนภูมิแบบตาราง
7.1.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
7.1.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
7.2 แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
7.2.1 ชนิดของแผนสถิติ เปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะนำเสนอในรูปแบบของแผนสถิติแบบใดก็ได้
7.2.1.1 แผนสถิติแบบเส้น ข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
7.2.1 .2 แผนสถิติแบบแท่ง ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบ เคียงกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นชุด
7.2.1.3 แผนสถิติแบบวงกลม ใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ ว่าเป็นเท่าไร
7.2.1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ เป็นการแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์
7.2.1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด
7.3 แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน
7.4 ภาพพลิก
7.5 ภาพชุด
7.6 แผนภาพ
7.7 ภาพโฆษณา
7.8 แผนโปร่งใสสื่อวัสดุ 3 มิติ
1. ความหมายของสื่อวัสดุ 3 มิติหมายถึงสื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้างขวาง ความยาว ความหนาลึก
2. ประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
2.1 หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจำกัดไม่สามารถนำมาแสดงได้
2.2 ของจรอง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้ง 5
2.3 ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์ มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว
2.4 ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์1. ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์
2. ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
2.1 เทปบรรทุกเสียง ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.2 เทปวิดีทัศน์ ใช้บันทึกภาพและเสียง
2.3 แผ่นซีดี
2.4 แผ่นวีซีดี
2.5 แผ่นดีวีดี
2.6 แผ่นเอสวีซีดี
2.7 แผ่นเอ็กซ์วีซีดี
2.8 แผ่นเอ็กเอสวีซีดีบทสรุปสื่อประเภทวัสดุ เป็นสื่อที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บบรรจุความรู้และประสบการณ์ไว้เป็นอย่างดีบางชนิดสามารถสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง
อ้างอิง